computerteen
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

 ฮาร์ดแวร์

 

 

ความหมามของฮาร์ดแวร์
 ฮาร์ดแวร์(Hardware)
           ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่าง สามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม)7 เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วย มีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
อุปกรณ์

CPU ROM
DVD Keyboard
Bar code Reader จอ ภาพสัมผัส ( Touch screen )
ปากกา แสง (Light Pen) Joystick
Harddisk Scanner
Printer Mainboard
RAM Display Card
Modem PCI Express
LCD Mornitor Sound Card
CD-ROM, CD-RW, DVD-RW Projcetor
LAN CrashFreeBios
WAN Mouse
USB ประวัติ และความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
USB Flash Memory Drive สื่อ บันทึกข้อมูล Digital
เลือก ซื้อกล้องดิจิตอลอย่างไร ให้ถูกใจคุณ ก่อนถูกเรียกว่า Memory
PMPO และ RMS ในเครื่องขยายเสียงคืออะไร? ความรู้ เกี่ยวกับ DIGITAL CAMERA
อื่นๆ
วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์
                  ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะมีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย การรับข้อมูล การประมวลผล การแสดงผล และการจัดเก็บข้อมูล หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า IPOS (Input  Process  Output Storage cycle)
 
รูป วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร
  1.  รับข้อมูล (input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ แป้นพิมพ์ (keyboard)และเมาส์ (mouse) สแกนเนอร์ (Scanner) ไมโครโพน (Microphone) และกล้องดิจิทัล (Digital Camera) เป็นต้น
  1. ประมวล ผล (process)
  2. เมื่อคอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมหรือคำสั่งที่ำกำหนด เช่น การคำนวณภาษีการคำนวณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น
  1. แสดง ผล (output)
  2. คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลที่ใช้แพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ จอภาพ (monitor)  ลำโพง (Speaker)   และ    เครื่องพิมพ์ (printer) เป็นต้น
  1. จัด เก็บข้อมูล (storage
  2. ) คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) แผ่นฟลอบปี้ดิสก์ (floppy disk) เป็นต้น

ประเภทของคอมพิวเตอร์
ซูเปอร์ คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)  มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดจึงมีราคาสูงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำในปัจจุบันมากกว่าพันล้านคำสั่งต่อวินาที ปัจจุบันการนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปใช้กับงานออกแบบชินส่วนรถยนต์ งานวิเคราะห์สินค้าคงคลัง หรือแม้แต่การออกแบบงานด้านศิลปะ และยังนำไปใช้กับหน่วยงาน เช่น องค์การนาซา (NASA) และหน่วยงานธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น บริษัท General Motors และ AT&T เป็นต้น
     
รูป  ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer) มีประสิทธิภาพในการทำงานรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถรองรับการทำงานของ ผู้นใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่  คอมพิวเตอร์เมนเฟรมนิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึงข้อมูลของผู้ ใช้จำนวนมากในเวลาเดียวกัน (Multiple Users)  เช่น งานธนาคาร  การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษา เป็นต้น
         
รูป  คอมพิวเตอร์เมนเฟรม  
มินิ คอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer) หรือเรียกว่า Mid-range Computer/Server มีประสิทธิภาพในการทำงานในด้านความเร็วและความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลน้อย กว่าเมนเฟรม  แต่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ  สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายคน  คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น  คำนวนทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนาคอมพิวเตอร์เติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจขนาดกลางและองค์การหลายประเภท รวมทั้งสถานศึกษานิยมนำมินิคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น
    
รูป  มินิคอมพิวเตอร์   
คอมพิวเตอร์ ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)  เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) ที่มีขนาดเล็กเหมาะกับตั้งทำงานในสำนักงาน สถานศึกษา และที่บ้าน รูปทรงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์มีทั้งแบบวางนอน และแบบแนวตั้ง  เพื่อประหยัดเนื้อที่มนการวางทั้งบนโต๊ะและที่พื้น

รูป  คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะดังนี้
All-in-one computer เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่รวมจอภาพและหน่วยประมวลผลอยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน
Workstation เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีความสามารถและราคาสูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ทั่วไปออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านการคำนวณและกราฟิก
Stand-alone Computer หรือคอมพิวเตอร์ระบบเดี่ยว เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานที่เรียกว่า IPOS cycle โดยที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Server Computer เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีความสามารถเช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์
คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค หรือบางครั้งเรียกว่า แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก บาง มีน้ำหนักเบา เหมาะแก่การพกพาไปใช้ในสถานที่ต่างๆ สามารถใช้กับไฟฟ้ามาตรฐานทั่วไปและแบตเตอรี่และยังสามารถใช้งานเช่นเดียวกับ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ จึงทำให้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
 
Hand-held Personal Computer หรือ Palmtop Computer เป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นอุปกรณืที่เรียกกันทั่วไปว่าพีดีเอ (PDA)ซึ่งย่อมาจาก Personal Digital Assistant เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจด บันทึก,เก็บข้อมูล,เตือนเวลานัดหมาย หรือ จัดการงานต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมไปถึงความสมารถของการเพิ่มเติมแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ใช้งานด้านอื่นๆได้ เหมาะสมกับความต้องการยิ่งขึ้น เช่น ดูเวลารอบโลก,อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา,ดูหนังสือพิมพ์ออนไลน์,บันทึกรายรับ รายจ่าย แม้แต่เรื่องของมัลติมีเดียและเอนเตอร์เทน เช่น ดูหนัง,ฟังเพลง หรือ เล่นเกมส์

คอมพิวเตอร์ แบบฝัง(Embeddded computer)เป็น คอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไปในอุปกรณ์ต่างๆ นิยมนำมาใช้ทำงานเฉพาะด้าน  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ โดยควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น เตาอบไมโครเวฟ ระบบการเติมน้ำมัน นาฬิกาข้อมือ อุปกรณ์เล่นเกม เป็นต้น

เทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (Hardware) หมาย ถึง เป็นอุปกรณือิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โมเด็ม เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ และลำโพง เป็นต้น  

องค์ ประกอบหลักของฮาร์ดแวร์
อุปกรณืรับข้อมมูล (Input Devices)
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit:CPU)
หน่วยความจำหลัก(Main Memory)
อุปกรณ์แสดงผล(Output Devices)
อุปกรณ์การสื่อ สาร (Communication Devices)
อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Storage Devices)

รูปองค์ประกอบของระบบ คอมพิวเตอร์ 
อุปกร์รับ ข้อมูล (Input Devices) เป็นอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่รับข้อมมูลเข้า เพื่อเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้ 
แป้นพิมพ์
เมาส์
กล้องดิจิทัล
สแกนเนอร์
ไมโครโฟน 
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing:CPU) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ  2 ส่วน  คือ  หน่วย ควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำของซีพียู ควบคุมกลไกการทำงาน ทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา โดยมีสัญญาณนาฬิกา เป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงาน  หน่วยคำนวณและตรรกะ   เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทาง คณิตศาสตร์ และตรรกะ เช่น การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และ การสลับตัวเลข เป็นต้นการคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุม
ของหน่วยควบคุม


ตัวอย่างไมโครโปรเซสเซอร์  
หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นชิบหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บันทึกโปรแกรม หรือข้อมูลหน่วยความจำหลักจะบรรจุอยู่บนแผงวงจรหรือเรียกว่าเมนบอร์ด หน่วยความจำจะใช้หน่วยเป็น ไบต์ กิโลไบต์ กิกะไบต์
หน่วยความจำมี 3 ประเภท คือ
หน่วยความจำแรม เป็นอุปกรณ์หรือแผงวงจรที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำแรมบางครั้งเรียกว่าหน่วยความจำชั่วคราว (Volatile Memory)

ตัวอย่างแรม
หน่วยความ จำรอม เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศและคำสั่งเริ่มต้นของระบบ คุณสมบัติเด่นของรอมคือ ข้อมูลและคำสั่งจะไม่ถูกลบหายไปถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่มี กระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงแล้วก็ตาม
 
ตัวอย่างรอม
หน่วยความจำซีมอส เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อสนเทศที่ใช้เป็นประจำของระบบคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) เป็นอุปกรณืที่ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผล ข้อมูล ได้แก่
เครื่องพิมพ์
จอภาพ

ตัวอย่างอุปกรณ์แสดงผล 
อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Storage Devices) ใช้สำหรับจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อใช้ในการประมวลผลโดยสามารถจัด เก็บไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงก็ตาม ได้แก่
แผ่นดิสเกตต์
ฮาร์ดดิสก์
แผ่นซีดี
แผ่นดีวีดี
แฟตไดร์



การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
  • 1. การกำหนดแนวทางจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่ง ขันของธุรกิจใน ยุคปัจจุบัน ดังนั้นมีการวางแผนระยะยาวในเรื่องของความสามารและปะสิทธิภาพ ในอนาคตของธุรกิจ
  • 2. การกำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์ ควรเลือกซื้อและจัดหาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ จึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่จัดหานั้นสอดคล้อง กับความต้องการขององค์การอย่างแท้จริง
  • 3. การจัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ต้องมีงบประมาณใน การปรับปรุงและการดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหานับได้ว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญเช่นกันในการนำ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งานในองค์การ

เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
                ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2   ประเภทคือ ซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในการทำงานใดๆผู้ใช้จะติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบหรือซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อควบ คลุมการทำงานของฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ระบบ
                ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมหรือคำ สั่งที่ทำหน้าที่ควบคลุม การปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่  ระบบปฏิบัติการดอส  ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์  ระบบปฏิบัติการยูนิกส์  และระบบปฏิบัติการวินโดวส์
                ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ
                ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำ สั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น
                โปรแกรมอรรถประโยชน์
                เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่ช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และอุปกรณ์ต่างๆ ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและเสรีภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์
                ซอฟต์แวร์ประยุกต์
                ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User's Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัว พัฒนา
                ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่นิยมใช้สำหรับงานทั่วไป แบ่งได้ดังนี้
  • โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor)
  • โปรแกรมด้านการคำนวณ (Spreadsheet)
  • โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล(Presentation)
  • โปรแกรมการจัดการด้านฐานข้อมูล(Database)
  • โปรแกรมด้านงานพิมพ์(Desktop Publishing)
  • โปรแกรมกราฟิก(Graphics)
ภาษาโปรแกรม คือ มีภาษาที่แตกต่างกันจำนวนมากที่สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ เช่น ภาษาเบสิก(BASIC),ภาษาปาสคาล(PASCAL),ภาษาโคบอล(COBOL),ภาษาซี(C)
  • ภาษาระดับต่ำ(
  • Low Level Language)
หมาย ถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานใกล้ชิดกับฮาร์ดแวร์ เป็นภาษาที่เป็นรหัส
คำสั่งสั้น ๆ แต่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ภาษา เครื่อง (Machine Language) ที่อยู่ในรูปของรหัส เลขฐานสอง ซึ่งใช้ในคอมพิวเตอร์ยุดแรก ๆ คอมพิวเตอร์สามารถนำภาษาเครื่องไปใช้สั่งงานได้ทันที และ ภาษาแอสเซ มบลี (Assembly) ซึ่งเป็นภาษาที่เป็นรหัสคำสั่งสั้น ๆ เข้าใจยาก ผู้เขียนคำสั่งต้องเข้าใจโดรงสร้างและระบบการทำงานภายในของ Microprocessor เป็นอย่างดี การทำงานของคำสั่งที่สร้างขึ้น ติดยึดอยู่กับสถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างของ Microprocessor หรือ CPU แต่ละรุ่น คือเมื่อสร้างคำสั่งด้วยภาษาแอสเซมบลีรุ่นใด ก็ต้องนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ในรุ่นนั้น ๆ ภาษาแอสเซมบลี มีซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่แปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง คือ แอ สเซมเบลอร์ (Assembler) จากนั้นถึงจะทำคำสั่งไปสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้
  • ภาษาระดับสูง (
  • High Level Language)
หมาย ถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เขียนโปรแกรม มีโครงสร้างและรหัสของภาษาคล้ายกับภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสื่อสารประจำวัน ทำให้ผู้สร้างโปรแกรมเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับ Microprocessor และเมื่อสร้างคำสั่งได้แล้ว สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นใด ๆ ก็ได้เมื่อสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงได้แล้ว สิ่งที่สร้างได้เราเรียกว่า Source Code หรือ Source Program ซึ่งยังไม่สามารถนำไปสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ จะต้องไปผ่านการแปลให้เป็นภาษาเครื่องก่อนหรือที่เรียกว่า Object Code ตัวแปลภาษาระดับสูงมี 2 ประเภท คือ Compiler และ InterpreterCompiler คือ ตัวแปลภาษาที่ใช้วิธีการแปล Source Code ให้เป็นภาษาเครื่องทีเดียวทั้งโปรแกรม จะแปลได้ก็ต่อเมื่อการสร้าง Source Code โปรแกรมนั้นถูกต้องทั้งหมด เมื่อแปลเสร็จแล้ว จึงนำภาษาเครื่องที่ได้ไปทำงานพร้อมกันทั้งโปรแกรม เช่น ภาษา COBOL, Pascal, C, C++
Interpreter คือ ตัวแปลภาษาที่ใช้วิธีการแปลทีละบรรทัดหรือทีละประโยค ถ้าถูก Source Code ถูกต้อง ก็แปลให้เป็นภาษาเครื่อง(Object Code) แล้วนำประโยคนั้นไปสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานทันที แต่ถ้าพบ Source Code ประโยคใดผิด ก็จะหยุดแปลและหยุดทำงาน ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงที่มีลักษณะเป็น Interpreter ได้แก่ ภาษา BASIC
ตัวอย่างของภาษาระดับสูงได้แก่ COBOL, BASIC, Pascal, C, C++ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ภาษา COBOL
COBOL ย่อมาจาก COmmon Business Oriented Language โดยคำว่า COmmon หมายถึง โปรแกรมที่สร้างจากภาษา COBOL สามารถนำไปทำงานกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้ ภาษา COBOL เกิดจากการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า CODASYL (Conference on Data Systems Language) ในปี 1959 ที่ต้องการให้มีภาษาที่เหมาะสำหรับการประมวลผลด้านข้อมูลธุรกิจ ในปี ค. ศ. 1960 ก็สร้างภาษา COBOL ขึ้นเพื่อให้นำไปใช้งานทางด้านธุรกิจโดยเฉพาะ มีลักษณะของภาษาคล้ายกับประโยคของภาษาอังกฤษ ทำให้ง่ายต่อการพัฒนาโปรแกรม แบ่งโปรแกรมเป็น 4 Division คือ Identification division, Environment division, Data division และ Procedure division ลักษณะการทำงานของภาษา COBOL เป็นภาษาแบบ Compiler ปัจจุบันยังมีการใช้ภาษา COBOL สร้างโปรแกรมประยุกต์สำหรับงานด้านงานธนาคาร ทำงานบนเครื่อง Mainframe เป็นส่วนใหญ่
ภาษา BASIC
BASIC ย่อมาจาก Beginner's All purpose Symbolic Instruction Code สร้างโดย John Kemeny and Thomas Kurtz, ศาสตราจารย์แห่ง Dartmouth Colledge เมื่อ ค.ศ. 1964 เป็นภาษาที่มีโครงสร้างง่ายต่อการศึกษา มีหมายเลขบรรทัดบอกเพื่อเขียนคำสั่ง ต่อมาได้มีการพัฒนาภาษา BASIC มาใช้เพื่อเขียนโปรแกรมประยุกต์ทางด้านธุรกิจ ได้แก่ GW BASIC, Quick BASIC เป็นต้น ลักษณะการทำงานตัวแปลภาษา BASIC รุ่นเก่าเป็นแบบ Interpreter
ภาษา Pascal
ภาษา Pascal สร้างขึ้นเมื่อปี ค. ศ. 1971 โดยนักคอมพิวเตอร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ ชื่อ Niklaus Wirth และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ภาษา Pascal เป็นภาษาที่มีโครงสร้างง่ายต่อการทำความเข้าใจ สามารถนำไปเขียนโปรแกรมประยุกต์การใช้งานได้หลายด้าน ทั้งทางด้านธุรกิจ วิทยาศาสตร์ การศึกษาหรือโปรแกรมเกมส์ เป็นต้น ตัวแปลภาษา Pascal ทำงานแบบ Compiler
ภาษา C
ภาษา C พัฒนาขึ้นที่ห้องปฏิบัติการ Bell ในปี 1974 โดย Brain Kernighan และ Dennis Ritchie มีลักษณะเป็นภาษาที่ทำงานแบบ Compiler มีรูปแบบการเขียนโปรแกรมคล้ายภาษา Pascal แต่ไวยากรณ์ของภาษาค่อนข้างละเอียดอ่อนและยุ่งยากกว่า ลักษณะของภาษา C อยู่ระหว่างภาษา Assembly และภาษาระดับสูง บางครั้งเรียกว่า ภาษาระดับกลาง (middle-level language) โปรแกรมภาษา C ต้องสร้างคำสั่งเป็นโครงสร้างฟังก์ชัน (Function) ที่สามารถเก็บไว้ในคลังคำสั่ง(Library) เพื่อนำไว้ใช้อีกได้ ข้อดีของภาษา C คือเมื่อสร้างเป็นภาษาเครื่องแล้วทำงานได้เร็วและมีความยืดหยุ่นสูง ไม่ยึดติดกับฮาร์ดแวร์ ส่วนใหญ่นำภาษา C มาเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างซอฟต์แวร์ประเภทระบบปฏิบัติการ (Operating System) ปัจจุบันภาษา C เป็นที่นิยมในหมู่นักโปรแกรมเมอร์ทั่วไป ทั้งในระบบไมโครคอมพิวเตอร์ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมในระบบ Mainframe computer
ภาษา C++
ภาษา C++ หรือ C plus plus เป็นภาษาประเภท Compiler ที่พัฒนามาจากภาษา C ให้มีความสามารถสนับสนุนการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming : OOP) ซึ่งเป็นแนวทางการเขียนโปรแกรมแนวใหม่ เหมาะกับโปรแกรมขนาดใหญ่ ที่มีความสลับซับซ้อน มีข้อมูลที่ต้องใช้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างโปรแกรมจำนวนมาก ทำให้โปรแกรมมีความถูกต้องและความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น การเขียนโปรแกรมด้วย C++ มีลักษณะคล้ายกับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C ผู้ที่เคยเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C จึงสามารถพัฒนาตนเองมาเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C++ ได้ ส่วนใหญ่มักนำภาษา C++ มาเขียนโปรแกรมระบบปฏิบัติการ โปรแกรมที่ทำงานในสภาพแวดล้อมแบบกราฟฟิก เป็นต้น

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 4,674 Today: 4 PageView/Month: 7

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...